วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

                                  
............................................................................
....สวัสดีคะ ท่านผู้ชมที่เข้ามาเยี่ยมชม
ดิฉัน นางสาว ทิตยา  สวาพจน์
จัดทำเว็บบล็อกนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
และเป็นส่วนหนึ่งของวิชา
นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
เนื้อหาในบล็อกนี้อาจเป็นส่วนหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูล
เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
เพื่อนำไปประกอบการเรียนการสอนได้
 ท่านผู้ชมสามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับบล็อกนี้
ไปปรับใช้กับวิชาที่ท่านกำลังศึกษาค้นคว้าอยู่ได้
และสามารถนำไปเป็นสื่อในการประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นๆ ต่อไปได้ค่ะ
คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาแนวคิดทฤษฎีนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้  การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรมสามารถเลือกใช้ออกแบบ  สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษาทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน
นวัตกรรม
 หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล
วัตถุประสงค์
                เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ  และแนวคิดนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายบทบาท คุณค่า  ประเภท  และประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาได้
3.อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
4. บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
5.บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้  การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัยได้
6.วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้
7. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
8 .ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
9. ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้
10. ประเมินผลนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
11.ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้

เนื้อหาบทเรีย
               หน่วยการเรียนที่ 1  แนวคิด  ทฤษฎี  ความหมาย  ความสำคัญของนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา
                หน่วยการเรียนที่  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
                หน่วยการเรียนที่ 3  สื่อการเรียนการสอน
                หน่วยการเรียนที่ 4  วิธีระบบ
                หน่วยการเรียนที่ 5  จิตวิทยาการเรียนการสอน
                หน่วยการเรียนที่ 6  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
                หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
                หน่วยการเรียนที่ 8  หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
                หน่วยการเรียนที่ 9  สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
                หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน

รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(integrity)

การวัดและประเมินผล
  1.  การวัดผล
  1.1   การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์)             10 %
  1.2   เอกสารรายงาน  การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน (รายบุคคล)       10 %
  1.3   เว็บบล็อก (รายบุคคล)                                                                                            20 %
  1.4   เว็บบล็อก (กลุ่ม)                                                                                                      20 %
  1.5   การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน          20 %
  1.6   สอบปลายภาค         

  การประเมินผล
ระดับคะแนน               80 – 100                              ค่าระดับคะแนน         A
ระดับคะแนน               75 – 79                                 ค่าระดับคะแนน        B+
ระดับคะแนน               70 – 74                                 ค่าระดับคะแนน        B
ระดับคะแนน               65 – 69                                 ค่าระดับคะแนน        C+
ระดับคะแนน               60 – 64                                 ค่าระดับคะแนน        C
ระดับคะแนน               55 – 59                                 ค่าระดับคะแนน        D+
ระดับคะแนน               50 – 54                                 ค่าระดับคะแนน        D
ระดับคะแนน               0 – 49                                   ค่าระดับคะแนน        E     


                                       ความซื่อสัตย์(integriry)
      เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้ 

                                 ประโยชน์ของการมีความซื่อสัตย์
1.ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
2.เป็นคนเปิดเผย จริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
3.เสริมสร้างให้ตัวเองเป็นคนกล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
4.เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจของคนอื่น
5.ชีวิตมีความสุข

                                    โทษของการไม่มีความซื่อสัตย์
1.ชีวิตและหน้าที่การงานไม่ประสบความสำเร็จ
2.ถูกมองเป็นคนขี้โกง ทุจริต ไม่มีระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น
3.ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
4.อาจหันไปประกอบอาชีพทุจริต ทำผิดกฎหมาย